หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ให้แนวทางการปฏิบัติธรรมสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนไว้ ผู้เรียบเรียงได้นำธรรมคำสอนของท่านที่ได้แสดงธรรมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ มาจัดหัวข้อ ย่อหน้าใหม่ ใส่ภาพประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในข้อธรรมและวิธีปฏิบัติตนตามแนวทางที่หลวงพ่อได้แสดงธรรมเอาไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังได้เสริมสาระความรู้เพิ่มเติมให้ผู้ที่สนใจ ได้รับรู้ถึงวิธีการเป็นชาวพุทธที่ดี เพื่อการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ จะได้ไม่หลงใหลไปกับโลกิยะสุขมากจนเกินไป
ดูตัวอย่างหนังสือ (ดูเต็มจอได้)
สารบัญ
#ธรรมะรักษาผู้ปฏิบัติธรรม
– คฤหัสถ์กับการปฏิบัติธรรม
– สภาวธรรม คือ สังขาร
– สภาวธรรม เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
– สภาวธรรม คือ กายกับใจ
-ไตรลักษณ์ความจริงที่ควรรู้
– รู้ความจริงได้ ต้องใช้ศีล สมาธิ ปัญญา
– สมาธิ มีทั้งถูกและผิด
– ศีล ๕ พื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
– เจริญสมาธิและปัญญา พาให้ศีลบริบูรณ์
– ปฏิบัติศีล ๕ ไม่ขาด ดีกว่าพลาดเพราะโลภในศีล
– อย่าโลภในศีล
– เด็ดใบไม้ ตายเป็นนาค
– ศีล ๕ เหมาะแก่ความเป็นคฤหัสถ์
– ปฏิบัติตามธรรมนำประโยชน์สู่ใจ
– รู้รัก ความสามัคคี ก็มีธรรม
– ธรรมชาติกับธาตุ ๔ นี้สัมพันธ์กัน
– ธาตุ ๔ ภายนอกต้องรักษา
– ธาตุ ๔ ภายในมีไว้พิจารณา
– หลักการปฏิบัติธรรม ๓ ประการ
– บริกรรมภาวนา นำพาใจให้สงบ
– จิตกับคำบริกรรมไม่แยกจากกัน
– อุบายสร้างพลังจิต คือ ฝีกให้ติดคำบริกรรม
– จิตที่สงบแท้จริง คือทิ้งคำบริกรรมภาวนาได้
– ใช้กายกับใจพิจารณาสภาวธรรม
– หยิบเอาอะไรก็ได้มาพิจารณา
– ความคิดเป็นอารมณ์ของจิต
– เรื่องในบ้านนำมาเป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้
– ความรู้ทุกสาขานำมาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้
– สติที่มีกำลังแก่กล้าเป็นมหาสติ
– สมาธิปัญญาอุบายสร้างมหาสติปัฏฐาน
– ทำสติตามรู้อย่างเดียว
– รู้ทันความคิด จิตเกิดความสงบ
– จะพบสัจธรรมเมื่อทำจิตเป็นสมาธิ
– สมาธิที่ดี ต้องไม่หนีโลก หรือเบื่อโลก
– หลักไตรลักษณ์คือความจริงของโลก
– ฝากไว้ให้คิดพิจารณา
– ปุจฉา (ถาม) – วิสัชนา (ตอบ)