ประมวลพระบรมราโชวาท
และพระราชดำรัส
เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต
ให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรือง
เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงได้น้อมอัญเชิญพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่าที่ทรงตรัสและพระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ บางส่วนมารวบรวมไว้ในหนังสือ เดินตาม “คำพ่อสอน” เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เก็บสะสมเป็นที่ระลึกเป็นเครื่องเตือนใจ และน้อมนำคำสอนของพระองค์ท่านมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรืองตราบนานเท่านาน
ดูตัวอย่างหนังสือ (ดูเต็มจอได้)
สารบัญ
เดินตามคำพ่อสอน
– วิถีชีวิตมนุษย์นั้น จะต้องมีทุกข์ภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาเสมอ
– อุปสรรคทำให้ใจแข็งแกร่ง
– การฝึกหัดทางใจสำคัญยิ่ง
– จิตใจดี ย่อมเจริญ
– ความเข้มแข็งในจิตใจ จะต้องฝึกฝนตั้งแต่เล็ก
– การฝึกใจให้เข้มแข็ง จะสามารถทำความดีได้ง่ายขึ้น
– เริ่มฝึกเร็ว ได้เปรียบ
– ความสงบต้องเริ่มที่ภายในใจก่อน
– ทำใจให้ดี จะเกิดสติรู้ทัน
– กล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
– การศึกษาทางด้านจิตใจและศีลธรรม จะทอดทิ้งไม่ได้
– จิตใจที่ต่ำทราม เป็นจิตใจที่อ่อนแอ
– ความเจริญทางจิตใจซื้อไม่ได้
– ให้ปรารถนาดีต่อผู้อื่น
– ทำอะไรต้องพอเพียง
– สำรวมกายวาจาใจให้ดี ปฏิบัติในทางที่เจริญ ที่เกื้อกูลต่อผู้อื่น
– ต้องรู้จักอบรมเด็ก ทั้งในด้านศีลธรรมจรรยา และวัฒนธรรม
– ก่อนจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน
– คนดีทำให้คนอื่นได้ดี ถ้าเข้มแข็งในความดี
– ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญ
– ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับทุกคน
– ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง
– ความเพียรคือการไม่ท้อถอย
– ศาสนาและการศึกษาสำคัญที่สุด
– มีศีลธรรมอยู่ในใจ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
– คิดดี ทำดี ตั้งใจดี ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข
– ธรรมะในพระพุทธศาสนา เป็นสาระและเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
– การมีจิตกุศล เป็นขั้นที่สำคัญมากในการหาความสุข
– การทำบุญ ได้ผลตั้งแต่แรกที่ทำบุญ
– บรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้อื่น เป็นการทำบุญที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก
– สติ สำคัญมาก
– ต้องฉุดจิตใจให้แข็งแรง ด้วยสติสัมปชัญญะที่ดี
– ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นเรื่องธรรมดา
– ความท้อใจเป็นสิ่งกีดขวางความดี
– หมั่นใช้สติปัญญาพิจารณา การกระทำของตนให้รอบคอบเสมอ
– ความสุขความเจริญที่แท้จริง เกิดจากความประพฤติที่เป็นธรรม
– การปฏิบัติตนให้ดีตามหน้าที่ของตน เป็นการให้พรที่ประเสริฐที่สุด