“เวรกรรมของคนไม่เหมือนกัน ทำมาไม่เหมือนกัน อย่าไปว่ากัน อย่าไปใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน ไม่สู้ ไม่หนี สร้างความดีเข้าไว้ ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง สร้างความดีเข้าไว้ให้ได้ เท่านี้ก็หมดเรื่อง หนักเข้าเวรกรรมก็หมดไปเอง”พระธรรมสิงหบุราจารย์(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
หนังสือ “ทำดีปลดหนี้กรรม” เล่มนี้ เป็นหนังสือว่าด้วยวิธีใช้หนี้กรรมและเรื่องเล่าเกี่ยวกับกรรมของบุคคลต่าง ๆ โดย พระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน นอกจากเรื่องเล่าหนี้กรรมแล้ว ภายในหนังสือยังมีบทสวดมนต์ต่างๆ เช่น บทบูชาพระรัตนตรัย บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากาฯ) บทอิติปิโสเท่าอายุบวกหนึ่ง เป็นต้น
ดูตัวอย่างหนังสือ (ดูเต็มจอได้)
สารบัญ
๑. เวลาดี คือเวลามีธรรม
– ฤกษ์งามยามดี คือมีเวลาว่างสำหรับปฏิบัติธรรม
– ควรใช้เวลาดีสร้างประโยชน์ อย่าก่อโทษทับถมตน
– วันขึ้นปีใหม่ของชาวพุทธ
– สิ่งที่ชาวพุทธพึงกระทำ
– ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน คือการทำบุญที่ง่ายแต่ได้ผลมาก
– ทำตนให้รุ่งเรืองได้ด้วยการปฏิบัติธรรม
– สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติธรรม ผู้ทำเท่านั้นจึงจะได้
– เกิดมาชาติหนึ่งพึงมุ่งกระทำแต่ความดี
– กรรมตัดไม่ได้ ทุกชีวิตต้องชดใช้หนี้กรรม
– ระลึกถึงอดีตของชีวิตได้ด้วยกรรมฐาน
– ดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวเป็นผู้กระทำ
– เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องแก้ด้วยตัวเอง
๒. ความศรัทธาในการปฏิบัติธรรมของคาทอลิก
– หลงทางเสียเวลาเพียงนิด ประมาทในชีวิตเสียทุกอย่าง
– หนึ่งชีวิตนั้นสั้น วันเวลาต้องใช้ให้เกิดประโยชน์
๓. เรื่องของคนขาดธรรม
– ตนเท่านั้นเป็นที่พึ่งของตน
– เตรียมตัวตายอย่างมีสติ
– เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก ล้วนเป็นกรรมของทุกคน
– หมั่นฝึกตนให้เป็นคนรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
– หนี้กรรม ทำกรรมฐานบรรเทาได้
– ทำอย่างไรก็ต้องชดใช้หนี้กรรม
– หนี้กรรม ถึงคราต้องชดใช้ใครก็รั้งไม่ได้
– ชีวิตจะพินาศ หากขาดสติ
– ทางออกของปัญหา ต้องใช้ปัญญาและสติ
– เกิดเป็นอสุรกาย เพราะตายด้วยอำนาจโทสะ
– แรงกรรมของโลภะ โทสะ โมหะ
– “กรรมฐาน” เป็นทางส่งผ่านกุศลถึงคนตายโหง
– ใช้สติพิจารณาก่อนเชื่อ จะได้ไม่เป็นเหยื่อของคนลวง
– สติจะขาด หากประมาทในอารมณ์
๔. เวรกรรมที่กระทำต่อกัน
– ทุกชีวิตต่างมีกรรม เวียนว่ายในวัฏสงสาร
– เมื่อเวรกรรมเบาบาง จะเห็นทางธรรม
– ปฏิบัติธรรมทำได้ทุกที่ ถ้ายังมีลมหายใจ
– ไม่สู้ ไม่หนี หมั่นสร้างความดีเข้าไว้
– หมั่นฝึกกรรมฐาน หมั่นสร้างความดี ใช้หนี้กรรมได้
– กรรมใครกรรมเขา เพียรระวังใจเราก็พอ
– หนี้กรรมของหลวงพ่อ
– หยุดสร้างเวรกรรมด้วยการถือศีล ๕
– เกิดมาทั้งทีต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความเมตตาต่อกัน
– ให้ตั้งใจทำความดี ก่อนที่ชีวีจะสิ้นไป
สวดมนต์ประจำวัน
๑. บทบูชาพระรัตนตรัย
๒. บทกราบพระรัตนตรัย
๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๔. บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย (อิส๎วาสุ)
๕. บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)
๖. บทชัยปริตร (มหากาฯ)
๗. บทสัพพมงคลคาถา
๘. บทอิติปิโส เท่าอายุ + ๑
๙. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
๑๐. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์